ปักกิ่ง 北京
กำแพง เมืองจีนเป็นสัญลักษณ์ของประชาชาติจีน เป็นสิ่งก่อสร้างที่ยิ่งใหญ่ชิ้นหนึ่งของโลก เมื่อมาถึงกรุงปักกิ่ง คงไม่มีใครไม่ไปเที่ยวกำแพงเมืองจีน ไม่ว่าฤดูไหน กำแพงเมืองจีนล้วนมีความสวยงามเป็นเอกลักษณ์ ดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศให้มาเที่ยวชม นายเจมส์ นักท่องเที่ยวชาวอเมริกันเดินทางมาเที่ยวกำแพงเมืองจีนก่อนเปิดงานกีฬาโอลิมปิกปักกิ่ง เขาชมอย่างไม่หยุดปากว่า "กำแพงเมืองจีนเป็นสิ่งมหัศจรรย์หนึ่งในเจ็ดของโลก เป็นเกียรติยศของคนจีน กำแพงเมืองจีนเป็นสมบัติอันล้ำค่าของชาติจีน ชาวโลกใครๆ ก็อยากจะมาเที่ยว กำแพงเมืองจีนยอดเยี่ยมจริงๆ ชาวจีนทุกคนควรมีความภาคภูมิใจต่อสิ่งมหัศจรรย์นี้" กำแพงเมืองจีนที่มีประวัติยาวนานกว่า 2,000 ปีนี้ ถูกสร้างขึ้นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์โจว เมื่อราวศตวรรษที่ 9 ก่อนคริสตกาล หลังจากที่ราชวงศ์โจวล่มสลายลง บรรดารัฐต่างๆ ที่เคยตกเป็น เมืองขึ้นก็ได้แยกตัวออกเป็นอิสระ ปกครองตนเอง จากนั้นกษัตริย์รัฐฉู่ ได้ริเริ่มดำเนินการก่อสร้างกำแพงเมืองขึ้นอีก เพื่อป้องกันการรุกราน จากรัฐอื่น เช่น ฉี เอี้ยน เว่ย จ้าว และฉิน จนกระทั่งมาในสมัยของ ผู้ครองรัฐฉิน ที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตก ก็ได้ทำสงครามกับรัฐต่างๆ และรวมแผ่นดินจีนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แล้วสถาปนาตัวเองเป็น จักรพรรดิองค์แรกของจีน มีพระนามว่า "ฉินสื่อหวงตี้" 秦始皇帝หรือตามที่คน ไทยทั่วไปรู้จักกันในนาม "จิ๋นซีฮ่องเต้" พระองค์ทรงมีพระบรมราชโองการให้สร้างและเชื่อมกำแพงเก่าตลอดแนวทิศเหนือ เพื่อประโยชน์ ในการป้องกันการรุกรานจากชนเผ่าเลี้ยงสัตว์เร่ร่อน หลังจากนั้นก็ได้ สร้างและเชื่อมกำแพงเมืองจีนอย่างต่อเนื่องมายาวนานหลายชั่วคน รวมถึงดำเนินการก่อสร้างขยายต่อเติมออกไปอีก ทั้งในสมัยของราชวงศ์ฮั่น เรื่อยไปจนถึงราชวงศ์หมิง ในระหว่างปี ค.ศ.1368 -ค.ศ.1644 เมื่อกำแพงเมืองจีนสร้างแล้วเสร็จมีระยะทาง ที่คดเคี้ยวเลี้ยวลดมากกว่า 12,000 ลี้หรือราว 6,000 กิโลเมตร เริ่มตั้งแต่เทือกเขาในมณฑลเหลียวหนิง 辽宁省ทางภาคเหนือไปจนถึงเขตทะเลทรายโกบีในมณฑลกันซู่ 甘肃省ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของจีน กำแพงเมืองจีนทอดตัวยาวเหยียดตามเทือกเขาต่าง ๆ โดยผ่าน 9 มณฑลของจีน มีทั้งที่เป็นกำแพงหิน ดิน ทราย และอื่นๆ ตามแต่ วัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างในเวลานั้นและได้สร้างขึ้นตามสภาพ ภูมิประเทศที่มีลักษณะสลับซับซ้อน เช่น ทะเลทราย ทุ่งหญ้า ห้วย หนอง คลอง บึงโดยกำแพงมีความสูง ประมาณ 10 เมตรและ กว้างประมาณ 4-5 เมตร มีความสะดวกในการลำเลียงขนส่ง เสบียงอาหารและอาวุธยุทโธปกรณ์ ส่วนด้านในของกำแพงมีประตูและบันไดต่าง ๆ ที่สามารถขึ้นลงได้ นอกจากนั้นบนกำแพงยังได้สร้างหอคอยต่างๆไว้หลายแห่ง โดย "หอคอย" เหล่านี้จะแบ่งออกเป็น 2 ชั้น ชั้นบนใช้สำหรับคอยสอดส่องและ ยิงธนูต่อสู้ข้าศึกศัตรู ส่วนชั้นล่างแบ่งซอยออกเป็นห้องเล็ก ๆ ซึ่งใช้สำหรับ เก็บอาวุธ รวมถึงเป็นที่พักและห้องนอนของเหล่า ทหารหาญ ส่วนที่ 3 คือ "ป้อมปราการ" ซึ่งมักสร้างไว้ตามจุดสำคัญ ทางยุทธศาสตร์ต่างๆ และ "หอส่งสัญญาณ" ซึ่งเป็นส่วนที่ตั้งอยู่ นอกเขตกำแพงตามบริเวณยอดเขา หรือที่ซึ่งสามารถมองเห็นได้ชัดเจนจากระยะไกลๆ ในยามกลางคืน จะใช้วิธีจุดไฟเพื่อเป็น สัญลักษณ์ในการแจ้งเหตุฉุกเฉิน ส่วนกลางวันก็จะใช้ควันไฟ เป็นสัญญาณแทน อิฐและหินที่ใช้ก่อสร้างขนมาจากภูเขาต่าง ๆ ถือว่าเป็นงานที่ต้องใช้แรงงานคนจำนวนนับล้านคน เนื่องจากกำแพงเมืองจีนมีขนาดใหญ่ และผ่านกาลเวลายาวนาน ทำให้สภาพดั้งเดิมถูกทำลายอย่างร้ายแรง ช่วงปีหลังๆ มานี้ รัฐบาลจีนได้เพิ่มกำลังทรัพย์ในการซ่อมแซม และอนุรักษ์กำแพงเมืองจีน ส่วนประชาชนทั่วไปก็มีจิตสำนึกมากขึ้นในการอนุรักษ์โบราณวัตถุ เช่น ทิ้งขยะเป็นที่และไม่สลักชื่อของตนเองบนกำแพง ยังมีคนกลุ่มหนึ่งเป็นอาสาสมัครคอยเก็บขยะตามกำแพงเมืองจีน อาสาสมัครผู้หนึ่งกล่าวว่า "พวกเราเก็บขยะตามกำแพงเมืองจีน ก็เพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีให้นักท่องเที่ยวทั้งหลาย ให้นักท่องเที่ยวเพิ่มจิตสำนักในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และอนุรักษ์โบราณวัตถุ " ปลายปี 2006 จีนได้ประกาศใช้ "กฏข้อบังคับในการอนุรักษ์กำแพงเมืองจีน " และได้ใช้มาตรการที่เข้มงวดยิ่งขึ้นในการอนุรักษ์กำแพงเมืองจีน นายจางจี้ รองเลขาธิการสมาคมวิจัยกำแพงเมืองจีนแห่งประเทศจีนมีความมั่นใจต่อการอนุรักษ์กล่าวว่า "สำนักงานโบราณวัตถุแห่งชาติได้ตรวจวัดความยาวทั้งหมดของกำแพง เมืองจีนสมัยราชวงศ์หมิงเพื่อสร้างมาตรการที่มีประสิทธิภาพ รัฐบาลก็มีนโยบายให้การสนับสนุน ดังนั้น การอนุรักษ์กำแพงเมืองจีนจะทำได้ดียิ่งต่อไป " กำแพงเมืองจีนปาต๋าหลิ่ง จีว์ยงกวนเป็นส่วนที่รักษาอย่างสมบูรณ์ที่สุด และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวทั้งชาวจีนและชาวต่างชาตินิยมไป ในศตวรรษใหม่ กำแพงเมืองจีนเป็นสัญลักษณ์แห่งอารยธรรมโบราณของจีน ได้แสดงบทบาทที่ต่างกับสมัยก่อน นายต่ง เอี้ยวหุ้ย รองนายกสมาคมวิจัยกำแพงเมืองจีนแห่งประเทศจีนกล่าวว่า "บทบาทของกำแพงเมืองจีนในทุกวันนี้มีสองด้าน หนึ่งคือ ด้านจิตใจ บรรพบรุษของจีนได้สร้างกำแพงเมืองจีนซึ่งเป็นสิ่งมหัศจรรย์ขึ้น ทำให้คนจีนต่างมีความภาคภูมิใจ สองคือ ด้านวัตถุ กำแพงเมืองจีนเป็นสัญลักษณ์แห่งอารยธรรมของมนุษย์ แต่ละปี มีนักท่องเที่ยวภายในประเทศกว่า 10 ล้านคนและนักท่องเที่ยวชาวต่างชาตินับล้านคนมาเที่ยว นอกจากแสดงบทบาทส่งเสริมการพัฒนาทางเศรษฐกิจแล้ว ยังเปรียบเสมือนสายสัมพันธ์ที่เชื่อมมิตรภาพระหว่างประชาชนจีนกับชนชาติ ต่างๆทั่วโลกด้วย " แหล่งที่มา : รายการพาเที่ยวจีน (กำแพงเมืองจีน สัญลักษณ์แห่งอารยธรรมโบราณ) http://thai.cri.cn |
จัตุรัสเทียนอันเหมิน
จัตุรัสเทียนอันเหมิน ตั้งอยู่ในกรุงปักกิ่งประเทศจีน มีพื้นที่ทั้งหมด 440,000 ตารางเมตร ความหมายของเทียนอันเหมิน คำว่า ‘เทียน’ แปลว่า ฟ้า ‘อัน’ แปลว่า ผาสุก ‘เหมิน’ แปลว่า ประตู
จัตุรัสเทียนอันเหมินมีความสำคัญในวัฒนธรรมที่ยิ่งใหญ่เป็นสัญญลักขณ์เพราะว่าจัตุรัสเทียนอันเหมินคือที่ตั้งของเหตุการณ์สำคัญมากมายในประวัติศาสตร์จีน จัตุรัสเทียนอันเหมินเป็นจัตุรัสที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก
ประตูเทียนอัน หรือเทียนอันเหมิน เดิมทีเป็นประตูหน้าของพระราชวังสร้างเมื่อปี ค.ศ. 1417 มีชื่อเดิมว่า "เฉิงเทียนเหมิน" หลังซ่อมแซมใหม่ในสมัยจักรพรรดิซุ่นจื้อแห่งราชวงศ์ชิง ในปี ค.ศ. 1651 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นเทียนอานเหมิน จากประตูนี้ เราสามารถเดินทะลุเข้าวังโบราณได้ ลักษณะของประตูวังเก่าแห่งนี้ เป็นกำแพงใหญ่ ชั้นบนสร้างเป็นเก๋งหลังคาสีเหลือง มีเสากลมสีแดง 10 ต้น เพื่อให้เกิดเป็นช่วงระหว่างเสา 9 ช่อง ตามตัวเลขทรงโปรดของจักรพรรดิ ชั้นล่างเป็นช่องประตูทรงเกือกม้า 5 ช่อง มีภาพเหมือนสีน้ำมันขนาดใหญ่ของประธานเหมา เจ๋อ ตุง ติดตั้งเหนือประตูกลางสองข้างของภาพนี้ มีคำขวัญเขียนว่า "ประชาชนจีนจงเจริญ" และ "ประชากรโลกจงเจริญ" เป็นคำพูดของ ท่านเหมา เมื่อครั้งกล่าวคำปราศรัยบนพลับพลาเทียนอันเหมิน เมื่อวันที่ 1 ตุลาคมค.ศ. 1949 ซึ่งเป็นวันสถาปนาประเทศจีนใหม่หรือที่เรียกอย่างเป็นทางการว่า "สาธารณรัฐประชาชนจีน" และได้ถือเอาวันที่ 1 ตุลาคม เป็นวันชาติตลอดมาจวบจนปัจจุบันบริเวณหน้าเทียนอันเหมิน มีสะพานหินที่แกะสลักลวดลายสวยงามเรียงขนานกัน 5 สะพานด้วยกัน มีสิงโตหินขนานใหญ่ ยืนเป็นยามรักษาประตูอีก 1 คู่ สำหรับสิงโตคู่ที่วางประดับหน้าตำหนักและอาคารบ้านเรือนทั่วไป จะมีตำแหน่งการจัดวางที่ตายตัว โดยตัวผู้จะถูกวางทางซ้าย ตัวเมียอยู่ทางด้านขวาเสมอ
จัตุรัสเทียนอันเหมินล้อมรอบด้วยสถาปัตยกรรมที่มีความสำคัญ ได้แก่ หอประตูเทียนอันเหมินที่ตั้งอยู่ทางทิศเหนือสุดของจัตุรัส ธงแดงดาว 5ดวงผืนใหญ่โบกสะบัดอยู่เหนือเสาธงกลางจัตุรัส อนุสาวรีย์วีรชนใจกลางจัตุรัส มหาศาลาประชาคมด้านทิศตะวันตกของจัตุรัส ตลอดจน พิพิธภัณฑ์การปฏิวัติแห่งชาติและพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ชาติจีนทางฝั่งตะวันออก นอกจากนี้ทางด้านทิศใต้ยังมี หอรำลึกท่านประธานเหมาและหอประตูเจิ้งหยางเหมิน หรือเฉียนเหมิน
ปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวจีนและชาวต่างชาติมากกว่าพันๆคนมาเยี่ยมชมจัตุรัสเทียนอันเหมินและอาคารสถาปัตยกรรมบริเวณจัตุรัสแห่งนี้ทุกวัน โดยเฉพาะการชมพิธีอัญเชิญธงชาติขึ้นสู่ยอดเสาและลงจากยอดเสาของกองทหารในเวลาเช้าและเย็น
ที่มา:http://www.abroad-tour.com/china/beijing/tiananmen.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น